คุณซื้อของจากร้านสะดวกซื้อที่ดำเนินการโดย 7-Eleven หรือไม่ ถ้าคุณซื้อคุณอาจจะต้องคิดใหม่อีกครั้ง ซึ่งล่าสุดภาพถ่ายวีดิโอสุดช็อคเผยความเสี่ยงของความปลอดภัยอาหารและการทารุณสัตว์อย่างรุนแรงที่ซ่อนอยู่ภายใต้การจัดหาไข่ของ 7-Eleven
7-Eleven, Inc. เป็นเครือข่ายร้านสะดวกซื้อสัญชาติอเมริกันโดยมีบริษัทญี่ปุ่น Seven & I Holdings เป็นเจ้าของผ่าน Seven-Eleven Japan Co., Ltd. 7-Elven ดำเนินการให้สิทธิแฟรนไชส์และออกใบอนุญาตสำหรับร้านค้ากว่า 84,500 ร้านใน อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ยุโรป แม็กซิโก และเอเชีย
ในประเทศไทยมี 7-Elven ดำเนินการมากกว่า 13,500 แห่ง อีกทั้งยังขายไข่ที่มาจากระบบกรงขังอันโหดร้ายและไม่ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง
ฟาร์มที่ขังแม่ไก่ไว้ในกรงจะมีมูลและสิ่งสกปรกอัดแน่นอยู่บนรางถาดที่วางไข่โดยกองมูลอยู่ห่างจากไข่และตัวแม่ไก่เพียงแค่ไม่กี่นิ้ว การที่แม่ไก่ถูกอัดอยู่ในกรงเล็กๆอันโหดร้ายแทบจะทั้งชีวิตเป็นสิ่งที่ถูกห้ามใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนซากแม่ไก่ที่ตายแล้วถูกปล่อยทิ้งให้ย่อยสลายข้างแม่ไก่ที่กำลังวางไข่เพื่อให้มนุษย์ได้บริโภค
เครือข่ายร้านสะดวกซื้อและผู้ค้าปลีกรายใหญ่อีกหลายสิบแห่งได้ให้คำมั่นว่าจะจัดหาไข่จากระบบปลอดกรงในเอเชีย เช่น Circle K, Mark and Spencer, Aldi, Costco, Metro และ Tesco ที่ได้ให้คำมั่นในการจัดหาไข่ปลอดกรง 100% ในเอเชีย รวมถึงบริษัทอาหารชั้นนำอีกกว่า 50 แห่ง แต่ 7-Eleven กลับดูเหมือนจะไม่คิดว่าลูกค้าสมควรได้รับการปฏิบัติในแบบเดียวกัน พวกเขายังคงขายไข่ที่มาจากระบบกรงขังอันโหดร้ายและไม่ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่องโดยไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง
ถึงเวลาแล้วที่ 7-Eleven จะต้องตามให้ทันเครือข่ายร้านสะดวกซื้อชั้นนำระดับสากล ด้วยการกำหนดระยะเวลาสำหรับการจัดหาไข่ปลอดกรงทั่วโลก
7-Eleven: ฉันจะไม่ซื้อของที่ร้านของคุณจนกว่าคุณจะตามทันบริษัทอาหารชั้นนำอื่น ๆ และให้คำมั่นว่าจะหยุดขายและใช้ไข่จากกรงแบตเตอรี่ที่สกปรกและโหดร้าย ถึงเวลาแล้วที่ 7-Eleven จะต้องเปลี่ยนแปลง ปลอดกรง 100%!
มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่าหนึ่งโหลที่พบว่า ฟาร์มไข่ที่ใช้กรงมีอัตราการปนเปื้อนของเชื้อซัลโมเนลลาสูงขึ้นอย่างมาก สำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งยุโรปได้ทำการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากฟาร์มจำนวนห้าพันแห่ง พบว่าฟาร์มไข่ที่ใช้กรงมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาสายพันธุ์หลักสูงกว่าฟาร์มที่ปลอดกรงถึง 25 เท่า (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17)
มีเหตุผลมากมายว่าทำไมการขังแม่ไก่ในกรงจึงก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของอาหาร งานวิจัยโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาพบว่าความเครียดจากการถูกขังในกรงทำให้แม่ไก่อ่อนแอต่อโรคมากขึ้น กรงยังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ยาก ซึ่งนำไปสู่ “ปริมาณของมูลและฝุ่นที่ปนเปื้อนมากขึ้น” (18, 19, 20, 21, 22, 23)
เช่นเดียวกับสุนัขและแมว ไก่ก็เป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและมีความรู้สึกทั้งความสุขและความเจ็บปวด การขังสัตว์ในกรงที่เล็กมากจนแทบจะไม่สามารถขยับตัวได้ตลอดชีวิตของมันนั้นเป็นเรื่องที่ผิดอย่างสิ้นเชิง (24)
กรงแบตเตอรี่เป็นสิ่งที่โหดร้ายมากจนถูกห้ามในหลายสิบประเทศทั่วโลก องค์กรปกป้องสัตว์หลัก ๆ ทั่วโลกต่างประณามกรงแบตเตอรี่ว่าเป็นการทารุณและไร้มนุษยธรรม (25, 26, 27)
นี่คือสิ่งที่องค์กรเหล่านี้บางแห่งได้กล่าวไว้:
“พฤติกรรมที่เรียบง่ายที่สุด เช่น ความสามารถในการกางปีกหรือการนั่งอยู่บนที่สูง ถูกปฏิเสธ สถานสงเคราะห์สัตว์ (SPCA) มีความกังวลอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสวัสดิภาพของไก่เหล่านี้จำนวนหลายล้านตัว” Hong Kong SPCA
“กรงแบตเตอรี่เป็นสิ่งที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง; ไม่เพียงแต่มีความแออัดมากเท่านั้น แต่ยังปฏิเสธไม่ให้แม่ไก่ที่วางไข่มีโอกาสทำรังและอาบฝุ่น…อุตสาหกรรมอาหารควรใช้ไข่ปลอดกรงโดยเร็วที่สุด” Taiwan SPCA
“แม่ไก่ในกรงมีความเสี่ยงต่อความเครียดและการบาดเจ็บมากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเชื้อซัลโมเนลลา” World Animal Protection
These organisations are not associated with this website
7-Eleven ยังคงเสิร์ฟและขายไข่จากผู้จำหน่ายที่ขังแม่ไก่ในกรงแบตเตอรี่ที่โหดร้ายและสกปรกให้กับลูกค้า
ที่ฟาร์มไข่ของ 7-Eleven แม่ไก่ขับถ่ายในกรงที่ว่างเปล่าเดียวกันกับที่พวกมันวางไข่
แม่ไก่แต่ละตัวใช้ชีวิตเกือบทั้งชีวิตในกรงที่แคบมากจนแทบจะไม่สามารถขยับตัวได้
Equitas เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกที่มีฐานอยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและสวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่อุปทานอาหารทั่วโลก
การอ้างอิงเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารและการทารุณสัตว์จากกรงแบตเตอรี่
1: Van Hoorebeke S, Van Immerseel F, Schulz J, et al. 2010. Determination of the within and between flock prevalence and identification of risk factors for Salmonella infections in laying hen flocks housed in conventional and alternative systems. Preventive Veterinary Medicine 94(1-2):94-100.
2: Snow LC, Davies RH, Christiansen KH, et al. 2010. Investigation of risk factors for Salmonella on commercial egg-laying farms in Great Britain, 2004-2005. Veterinary Record 166(19):579-86.
3: 2010. Annual Report on Zoonoses in Denmark 2009. National Food Institute, Technical University of Denmark.
4: Van Hoorebeke S, Van Immerseel F, De Vylder J et al. 2010. The age of production system and previous Salmonella infections on farm are risk factors for low-level Salmonella infections in laying hen flocks. Poultry Science 89:1315-1319.
5: Huneau-Salaün A, Chemaly M, Le Bouquin S, et al. 2009. Risk factors for Salmonella enterica subsp. Enteric contamination in 5 French laying hen flocks at the end of the laying period. Preventative Veterinary Medicine 89:51-8.
6: Green AR, Wesley I, Trampel DW, et al. 2009 Air quality and bird health status in three types of commercial egg layer houses. Journal of Applied Poultry Research 18:605-621.
7: Schulz J, Luecking G, Dewulf J, Hartung J. 2009. Prevalence of Salmonella in German battery cages and alternative housing systems. 14th International congress of the International Society for Animal Hygiene: Sustainable animal husbandry : prevention is better than cure. pp. 699-702. http://www.safehouse-project.eu/vars/fichiers/pub_defaut/Schulz_Salmonella_ISAH%202009.ppt.
8: Namata H, Méroc E, Aerts M, et al. 2008. Salmonella in Belgian laying hens: an identification of risk factors. Preventive Veterinary Medicine 83(3-4):323-36.
9: Mahé A, Bougeard S, Huneau-Salaün A, et al. 2008. Bayesian estimation of flock-level sensitivity of detection of Salmonella spp. Enteritidis and Typhimurium according to the sampling procedure in French laying-hen houses. Preventive Veterinary Medicine 84(1-2):11-26.
10: Pieskus J, et al. 2008. Salmonella incidence in broiler and laying hens with the different housing systems. Journal of Poultry Science 45:227-231.
11: European Food Safety Authority. 2007. Report of the Task Force on Zoonoses Data Collection on the Analysis of the baseline study on the prevalence of Salmonella in holdings of laying hen flocks of Gallus gallus. The EFSA Journal 97. www.efsa.europa.eu/EFSA/efsa_locale-1178620753812_1178620761896.htm.
12: Snow LC, Davies RH, Christiansen KH, et al. 2007. Survey of the prevalence of Salmonella species on commercial laying farms in the United Kingdom. The Veterinary Record 161(14):471-6.
13: Methner U, Diller R, Reiche R, and Böhland K. 2006. [Occurence of salmonellae in laying hens in different housing systems and inferences for control]. Berliner und Münchener tierärztliche Wochenschrift 119(11-12):467-73.
14: Much P, Österreicher E, Lassnig. H. 2007. Results of the EU-wide Baseline Study on the Prevalence of Salmonella spp. in Holdings of Laying Hens in Austria. Archiv für Lebensmittelhygiene 58:225-229.
15: Stepien-Pysniak D. 2010. Occurrence of Gram-negative bacteria in hens’ eggs depending on their source and storage conditions. Polish Journal of Veterinary Sciences 13(3):507-13.
16: Humane Society International, “An HSI Report: Food Safety and Cage Egg Production” (2010). HSI Reports: Farm Animal Protection. 3. http://animalstudiesrepository.org/hsi_reps_fap/3
17: European Food Safety Authority. 2007. Report of the Task Force on Zoonoses Data Collection on the Analysis of the baseline study on the prevalence of Salmonella in holdings of laying hen flocks of Gallus gallus. The EFSA Journal 97. www.efsa.europa.eu/EFSA/efsa_locale-1178620753812_1178620761896.htm
18: The Danish Veterinary and Food Administration. 2004. The national Salmonella control programme for the production of table eggs and broilers 1996-2002. Fødevare Rapport 6, March.
19: Davies R and Breslin M. 2003. Observations on Salmonella contamination of commercial laying farms before and after cleaning and disinfection. The Veterinary Record 152(10):283-7.
20: Methner U, Rabsch W, Reissbrodt R, and Williams PH. 2008. Effect of norepinephrine on colonisation and systemic spread of Salmonella enterica in infected animals: Role of catecholate siderophore precursors and degradation products. International Journal of Medical Microbiology 298(5-6):429-39.
21: Bailey MT, Karaszewski JW, Lubach GR, Coe CL, and Lyte M. 1999. In vivo adaptation of attenuated Salmonella Typhimurium results in increased growth upon exposure to norepinephrine. Physiology and Behavior 67(3):359-64.
22: Shini S, Kaiser P, Shini A, and Bryden WL. 2008. Biological response of chickens (Gallus gallus domesticus) induced by corticosterone and a bacterial endotoxin. Comparative Biochemistry and Physiology. Part B. 149(2):324-33.
23: Rostagno MH. 2009. Can stress in farm animals increase food safety risk? Foodborne Pathogens and Disease 6(7):767-76.
24: Marino, L. 2017. Thinking chickens: a review of cognition, emotion, and behavior in the domestic chicken. Animal Cognition 20(2): 127–147.
25: “European_Union_Council_Directive_1999/74/EC.” Wikipedia: The Free Encyclopedia. Wikimedia Foundation, Inc. Web 03 August 2018, en.wikipedia.org/wiki/European_Union_Council_Directive_1999/74/EC
26: “Farm Animal Confinement Bans.” American Society for the Prevention of Cruelty to Animals. Web. 03 August 2018, www.aspca.org/animal-protection/public-policy/farm-animal-confinement-bans
27: World Organization for Animal Health, “Terrestrial Animal Health Code” (2017). www.rr-africa.oie.int/docspdf/en/Codes/en_csat-vol1.pdf